เทศบาลตำบลจันจว้า

นายทนงศักดิ์ ทองแสน

นายกเทศมนตรีตำบลจันจว้า



ย้อนกลับ settings_backup_restore พิมพ์ print


บอลลูนแก๊สชีวภาพ

“ก๊าซชีวภาพ” คือก๊าซที่เกิดขึ้นจากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ เช่นจากคน สัตว์ พืชและสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่ตายลงแล้วถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์กลุ่มหนึ่งที่มีชีวิตอยู่ได้ โดยไม่ต้องอาศัยออกซิเจน (Anaerobic Prices)ซึ่งในขณะที่ทาการย่อยสลายอยู่นั้น จะเกิดก๊าซขึ้นกลุ่มหนึ่งที่เรียกโดยรวมว่า “ก๊าซชีวภาพ” ส่วนใหญ่แล้วจะประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นหลัก ซึ่งมี คุณสมบัติติดไฟได้ที่อุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียส จึงสามารถนามาใช้เป็นพลังงานทดแทนได้

วัสดุอุปกรณ์
1. ถุงผ้าใบ (ขนาด 4 คิว ถุงกว้าง 1 เมตร ยาว 3 เมตร) จำนวน 1 ถุง
2. ท่อพีวีซี (เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว จำนวน 1.50 เมตร) จำนวน 2 ท่อน
3. สายรัดชนิดเหนียว ยาว 3 เมตร
4. กาวน้ำ จำนวน 1 กระป๋อง
5. ถังซีเมนต์ (ขนาด 60 ซม.) จำนวน 2 ใบ
6. ปูนซีเมนต์ ครึ่งกระสอบ
7. ทราย จำนวน 2 กระสอบ
8. ขี้วัว หรือขี้ควาย จำนวน 10 กระสอบ

ขั้นตอนการทำ

  1. เตรียมพื้นที่ทำให้มีแสงแดดส่องถึงเพื่อให้ได้แก๊สมากขึ้น
  2. ขุดหลุมดินขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 3 เมตร
  3. นำท่อพีวีซีทาด้วยกาวน้ำ พันด้วยสายรัดให้แน่น
  4. นำปูนซีเมนวางด้านหน้าบ่อ และหลังบ่อเพื่อรองรับเศษอาหาร
  5. โบกด้วยปูนทำเป็นหลุมให้เศษอาหารไหลท่อพีวีซีได้
  6. เจาะรูด้านบนจุดศูนย์กลางถุงผ้าใบ เพื่อไม่ใช้หุงต้ม ผ่านที่กรองดักกลิ่น
  7. นำขี้วัว หรือขี้ควาย 10 กระสอบ ผสมน้ำใส่ลงไปในถุงหมักไว้เพื่อเป็นเชื้อให้เกิดแก๊ส 7 วัน
  8. ต่อท่อพีวีซีขนาด 4 หุน มาที่เตาแก๊ส ติดวาล์วปิดเปิด 1 ตัว จากนั้นให้เติมเศษอาหาร เช่น ข้าวสุกที่เหลือทิ้งผักต่างๆ หมู ไก่ เนื้อ ผสมน้ำซาวข้าวประมาณ 10 ลิตร ทุกวัน จะมีแก๊สใช้ตลอดเวลา

ประโยชน์ของบอลลูนแก๊สชีวภาพ

ใช้เป็นพลังงานทดแทน ช่วยลดค่าใช้จ่ายแก๊สหุงต้ม (LPG) และสนับสนุนให้นักเรียน และชุมชน ตระหนักถึงการคัดแยกขยะ โดยการนำเศษอาหารมาทำให้เกิดประโยชน์ สามารถลดการพึ่งพาพลังงานจากภายนอก แต่พึ่งพาพลังงานทดแทนจากแก๊สชีวภาพ ตามวิถีความพอเพียง

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น